แผลในปาก หรือแผลร้อนในเป็นแผลขนาดเล็กที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เหงือก ด้านในของริมฝีปาก แก้ม หรือลิ้น ซึ่งมักทำให้เกิดความเจ็บปวดและความยากลำบากในการรับประทานอาหาร แม้ส่วนใหญ่แผลในปากจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่การรู้สาเหตุของการเกิดแผลในปากก็อาจช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ และหากทราบถึงวิธีรับมือได้อย่างถูกต้องก็อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
แผลในปากเกิดจากอะไร ?
แผลในปากเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมักพบได้บ่อยในวัยรุ่น และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แม้ว่าสาเหตุของการเกิดแผลในปากหรือแผลร้อนในจะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลในปากได้ เช่น
- การบาดเจ็บที่ปาก ซึ่งอาจเกิดจากการแปรงฟันแรงเกินไป การกัดปากโดยไม่ได้ตั้งใจ การทำฟัน หรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- การใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนประกอบของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต
- การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 สังกะสี กรดโฟเลต และธาตุเหล็ก เป็นต้น
- การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ไข่ ถั่ว ชีส ช็อกโกแลต กาแฟ อาหารที่มีรสชาติเผ็ด รวมถึงผลไม้ที่มีกรดมากอย่างสับปะรด สตรอเบอร์รี่ มะนาว และส้ม เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียอย่างเชื้อเอชไพโลไร
- โรคหรือการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคเอดส์ โรคเซลิแอคซึ่งเป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน และโรคเบเซ็ทซึ่งเป็นโรคที่เกิดการอักเสบขึ้นทั่วร่างกาย เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่มีประจำเดือน
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม ความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มักเป็นแผลในปากจะมีความเสี่ยงเกิดแผลในปากมากขึ้นด้วย ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือปัจจัยแวดล้อมบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น การรับประทานอาหาร และการได้รับสารก่อภูมิแพ้บางชนิด เป็นต้น

ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดแผลในปาก ?
โดยทั่วไปแล้ว แผลในปากจะสามารถหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม อาจบรรเทาอาการของแผลในปากได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
- ล้างปากโดยใช้น้ำเกลือและเบกกิ้งโซดา หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวม
- ใช้ยามิลค์ออฟแมกนีเซียบริเวณที่เกิดแผลในปาก
- ใช้เบกกิ้งโซดาทาบริเวณแผลในปาก
- ประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นแผลในปาก
- ใช้ยาชาเฉพาะที่ที่หาซื้อได้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร อย่างยาไซโลเคน
- ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรรับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่มีสารโภชนาการครบถ้วน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือมีรสเค็ม รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดมาก และไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
- รับประทานอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
- ใช้หลอดเมื่อต้องดื่มน้ำเย็น
- นำถุงชาที่ชุ่มน้ำแปะตรงบริเวณที่เป็นแผล
- แปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟอง โดยต้องไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอริลซัลเฟต
- ใช้สมุนไพรบำบัดและวิธีการรักษาทางธรรมชาติ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ เอ็กไคนาเชีย มดยอบ และรากชะเอม เป็นต้น โดยศึกษาวิธีการ ปริมาณ และความปลอดภัยให้ดีก่อนเสมอ
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์ ?
ผู้ที่มีแผลในปากซึ่งมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- แผลร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
- เป็นแผลร้อนในนานกว่า 2 สัปดาห์
- แผลเดิมยังคงอยู่ แต่มีแผลใหม่เกิดขึ้นก่อนแผลเก่าจะหาย หรือพบว่าเป็นแผลในปากบ่อย ๆ
- แผลลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
- มีแผลที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
- มีอาการเจ็บปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีรักษาทางธรรมชาติหรือยาที่หาซื้อได้ด้วยตนเอง
- รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก
- มีอาการท้องเสียหรือมีไข้สูงในระหว่างที่เกิดแผลในปาก
นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในระหว่างจัดฟันและพบว่าเครื่องมือจัดฟันอาจมีส่วนที่คมหรือส่วนที่อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อหาวิธีป้องกันการเกิดแผลในปากต่อไป
แผลร้อนใน (Aphthous Ulcers) เป็นอาการที่เยื่อบุอ่อนภายในช่องปากอักเสบ เป็นแผล บริเวณที่เกิดแผลสามารถพบเห็นได้ทั่วช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นกระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือก ลิ้น ฯลฯ โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจมีปัจจัยกระตุ้นได้หลายอย่าง เช่น
ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
เครียดสะสม
ดื่มน้ำน้อยเกินไป
พักผ่อนไม่เพียงพอ
มีแผลกดทับ ufabet24 หรือเสียดสีจากฟันปลอมที่หลวมเกินไป หรือเหล็กดัดฟันไม่พอดีกับฟัน
การกัดกระกุ้งแก้มตนเอง
การขาดวิตามินบางชนิด
วิธีการรักษา
ส่วนใหญ่มักจะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์โดยที่ไม่ต้องรักษาอะไร ควรปฏิบัติตัวตามนี้เพื่อลดอาการเจ็บปวดและช่วยให้แผลหายเร็ว
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือทุก 2 ชั่วโมง หรือหลังอาหารทุกมื้อ
หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้แผลร้อนในระคายเคือง และแห้งตึงจนเกินไป
หากมีแผลร้อนในที่ค่อนข้างใหญ่ และลึก จนมีอาการเจ็บปวดมาก สามารถใช้ผ้าสะอาดพันปลายนิ้ว เช็ดทำความสะอาดฟัน เหงือก และซอกฟันแทนการใช้แปรงสีฟันชั่วคราวได้
เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย
หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารรสจัด (เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด)
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอุณหภูมิเย็นจัด และร้อนจัด
งดอาหาร และสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในช่องปาก เช่น เหล้า บุหรี่
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์
แผลร้อนในที่ใหญ่กว่าปกติ
มีแผลจำนวนมาก
เป็นแผลร้อนในนาน 2 สัปดาห์หรือมากกว่า
แผลที่ลุกลามไปยังบริเวณอื่น
มีไข้สูง หรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย
การรักษาแผลร้อนใน
ส่วนใหญ่ใช้การประคับประคองอาการ ในกรณีที่เป็นมาก หรือเจ็บมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจให้การรักษาโดยยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาทาสเตียรอยด์ หรือยาชาเพื่อลดอาการเจ็บปวด
การป้องกันแผลร้อนใน
เนื่องจากไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จึงป้องกันได้ยาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบหมู่ ดูแลความสะอาดในช่องปาก
ใครเป็น ‘ร้อนใน’ บ่อยๆ
ร้อนในหรือแผลในปาก เกิดจากอะไรกันแน่?
ร้อนใน คือแผลเปิดภายในช่องปากเกิดจากการแตกของเยื่อเมือก ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
โดยมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการร้อนในขึ้น เช่น
ขาดวิตามินบี 12 และธาตุเหล็ก
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ทานของมัน ของทอดมากไป
เครียดสะสม
นอนดึก อดนอนเป็นประจำ
เผลอกัดริมฝีปากขณะเคี้ยวอาหาร
แพ้สารบางชนิดในยาสีฟัน
การสูบบุหรี่
รักษา ‘ร้อนใน’ ด้วยการปรับพฤติกรรม ดังนี้
-
- งดอาหารของทอด ของมัน ขนม น้ำตาล ทุเรียน ลำไย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กระเทียม หอม ขิง
- ทานผักผลไม้ ให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุครบถ้วน
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ ในแต่ละวัน
- ลดความเครียดลง
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ